อานาปานสติ ๑๖ ขั้น
ในบทนี้จะได้กล่าวถึงบทกรรมฐานที่สำคัญบทหนึ่ง คือ อานาปานสติ ๑๖ ขั้น เพื่อที่จะให้ท่านที่สนใจในการบำเพ็ญภาวนา ได้เข้าใจวิธีปฏิบัติและทราบหลักที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
อานาปานสติ ๑๖ ขั้นนี้ ผู้ปฏิบัติกรรมฐานโดยทั่วไปไม่ค่อยจะได้ยินได้ฟังกันมากนัก แต่ก็เป็นพระสูตรสำคัญสูตรหนึ่ง ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน อานาปนสติสูตร คัมภีร์มัชฌิมนิกายอานาปานสติภาวนา หรือ อานาปานสติสมาธิ ที่เราได้ฟังกันโดยทั่วไป เป็นอานาปานสติเพียง ๔ ขั้นแรก ซึ่งอานาปนสติทั้ง ๔ ขั้นนี้ เราจะพบในพระสูตรต่างๆ หลายแห่งเช่น
- อานาปานสติ ในอนุสสติ ๑๐
- อานาปานสติ ในมหาสติปัฏฐานสูตร
พระสูตรดังกล่าวมาล้วนแต่กล่าวถึงอานาปานสติเพียง ๔ ขั้นเท่านั้น แต่อานาปานสติภาวนาใน
อานาปานสตินั้นสมบูรณ์ที่สุด เพราะแสดงหลักฐานทั้งในด้านปริยัติ และด้านปฏิบัติอย่างสมบูรณ์ที่สุด
เกี่ยวกับอานาปานสติเริ่มตั้งแต่ขั้นต้นๆ จนถึงขั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา
อานาปานสติทั้ง ๑๖ ขั้นนั้นคือ
๑. เมื่อหายใจเข้า-ออกยาว ก็
รู้ว่า เรา
หายใจเข้า-ออกยาว
๒. เมื่อหายใจเข้า-ออกสั้น ก็
รู้ว่า เรา
หายใจเข้า-ออกสั้น
๓. กำหนด
รู้กายทั้งปวงหายใจเข้า-ออก
๔. ทำ
กายสังขารให้ระงับ หายใจเข้า-ออก
๕. กำหนด
รู้ปีติ หายใจเข้า-ออก
๖. กำหนด
รู้สุข หายใจเข้า-ออก
๗. กำหนด
รู้สังขาร หายใจเข้า-ออก
๘. ทำ
จิตสังขารให้ระงับ หายใจเข้า-ออก
๙. กำหนด
รู้จิต หายใจเข้า-ออก
๑๐. ทำ
จิตให้ปราโมทย์ หายใจเข้า-ออก
๑๑. ทำ
จิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า-ออก
๑๒. ทำ
จิตให้คลาย หายใจเข้า-ออก
๑๓. ตาม
เห็นอนิจจัง - ความ
ไม่เที่ยง หายใจเข้า-ออก
๑๔. ตาม
เห็นวิราคะ - ความ
จางคลาย (คลายติด) หายใจเข้า-ออก
๑๕. ตาม
เห็นนิโรธ - ความ
ดับโดยไม่มีเหลือ (ดับสนิท) หายใจเข้า-ออก
๑๖. ตามเป็นปฏินิสสัคคะ - ความสละคืน (
ปล่อยวาง) หายใจเข้า-ออก
นี่คืออานาปานสติ ๑๖ ขั้น ตามอานาปานสติสูตร ในคัมภีร์มัชฌิมนิกาย ต่อไปนี้จะได้อธิบายแต่ละขั้นตามลำดับ เพื่อให้ท่านผู้สนใจได้เข้าใจหลักการปฏิบัติได้ดียิ่งขึ้นในอานาปานสติทั้ง ๑๖ ขั้นนี้ แบ่งออกเป็น ๔ หมวด คือ
หมวดที่ ๑ ตั้งแต่ขั้นที่
๑ ถึงขั้นที่ ๔ ว่าด้วยการกำหนดลมหายใจเข้า-ออก เป็น
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
หมวดที่ ๒ ตั้งแต่ขั้นที่
๕ ถึงขั้นที่ ๘ ว่าด้วยการกำหนดเวทนา เป็น
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
หมวดที่ ๓ ตั้งแต่ขั้นที่
๙ ถึงขั้นที่ ๑๒ ว่าด้วยการกำหนดจิต เป็น
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
หมวดที่ ๔ ตั้งแต่ขั้นที่
๑๓ ถึงขั้นที่ ๑๖ ว่าด้วยการกำหนดธรรมที่ปรากฏในจิต เป็น
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
สติปัฏฐาน ๔ ก็ปรากฏอยู่ในอานาปานสติสูตรนี้เอง ในกายาสติปัฏฐาน ตั้งแต่ขั้นที่ ๑ ถึง ๔ นั้น
เรามักปฏิบัติอานาปานสติกันโดยทั่วไป แต่บางท่านอาจยังไม่ทราบชัดว่าตนกำลังปฏิบัติอยู่ในขั้นใดของขั้นทั้ง ๔ นี้
จากหนังสือวิปัสสนากรรมฐาน โดย ฐิตวณฺโณ ภิกฺขุ (พระสาสนโสภณ)
วัดโสมนัส ราชวรวิหาร สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา