ทำ
อานาปานสตินะ คลุมสติปัฏฐาน ๔ ได้ด้วย ไม่มีกรรมฐานอะไรเหมือนเลยนะ ตั้งแต่โหลยโท่ย ไม่มีสติเลย หรือทำจนเครียดสติแตกไปเลยนะ ก็เป็นไปได้ ทำอานาปานสติแล้วก็พลิกไปทางกสิณ เล่นอภิญญาก็ได้ ทำแล้วเข้าฌานเพื่อพักผ่อน ออกจากฌานมา มาเดินปัญญา
ดูกายก็ได้ ดูจิตก็ได้ ทำแล้วเข้าอัปปนาสมาธิ เข้าฌาน เจริญปัญญาอยู่ในฌานเลยก็ได้ ทำแล้วเข้าฌานไม่ได้ เห็นร่างกายหายใจ-ใจเป็นคนดูอยู่ เห็นร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเรา นี่เดินปัญญานะ ใช้ปัญญานำสมาธิก็ได้ ไปดูจิตดูใจ หายใจไป จิตเป็นอย่างนั้นจิตเป็นอย่างนี้รู้ทัน นี่เดินปัญญาดูจิต เดินปัญญาดูกาย เดินปัญญาดูจิต แจกแจงให้ครบก็คือ การทำ
สติปัฏฐาน ๔ ครบทั้งหมดเลย
(กาย) เห็นกายมันหายใจ ใจเป็นคนดูอยู่ เห็นกายไม่ใช่เรา เป็น
กายานุปัสสนา
(เวทนา) หายใจไปมี
ความสุข หายใจไปความสุขหายไป หายใจไปแล้วมี
ความทุกข์ หายใจแล้วความทุกข์หายไป หายใจแล้วมี
อุเบกขา แล้วอุเบกขาหายไป อันนี้เป็น
เวทนานุปัสสนา
(จิต) หายใจแล้ว
ฟุ้งซ่าน รู้ว่าฟุ้งซ่าน หายใจแล้ว
สงบ รู้ว่าสงบ หายใจไปแล้วจิตรวม เป็นมหัคคตะ หายใจแล้วจิตไม่รวม อย่างนี้เป็น
จิตตานุปัสสนา
(ธรรม) หายใจแล้วเห็นขันธ์กระจายตัวออกไป แต่ละขันธ์ทำงานของขันธ์ เป็น
ขันธบรรพ ใน
ธัมมานุปัสสนา
หายใจไปแล้ว
โพชฌงค์เกิดขึ้น มี
สติรู้ลมหายใจ มีความเพียรที่จะรู้ลมหายใจ มีฉันท
ะ หายใจแล้วสบายใจ
วิริยะมันก็เกิด มีความเพียร ตามรู้ตามเห็นในตัวที่หายใจอยู่ ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เรียกว่า
ธัมมวิจยะ มี
ปีติขึ้นมา อันนี้ไม่ใช่ปีติในฌาน เป็นปีติเพราะมีปัญญา มีปีติแล้ว สติรู้ทันปีติ หายใจไปมีปีติ รู้ทัน ปีติดับ สงบเข้ามาเป็น
ปัสสัทธิ แล้วเป็น
สมาธิ จิตตั้งมั่น จิตเป็น
อุเบกขา เห็นจิตมันเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงไป เป็นลำดับ ตามหลักของโพชฌงค์ อันนี้ก็อยู่ใน
ธัมมานุปัสสนา
หายใจไปแล้วมี
นิวรณ์ขึ้นมา รู้เท่าทันนิวรณ์นั้น นิวรณ์เกิดแล้วดับไป เป็นนิวรณบรรพ อยู่ใน
ธัมมานุปัสสนา
หายใจแล้วเห็น
อริยสัจ ก็อยู่ใน
ธัมมานุปัสสนา
หายใจแล้วมีความสุข มีความสุขแล้วตัณหาเกิด อยากได้ อยากมี อยากเป็น หายใจแล้วมีความทุกข์ ตัณหาก็เกิดอยากให้มันหายไป อยากให้ความทุกข์หายไป มีตัณหาขึ้นมาจิตใจก็มีความทุกข์ขึ้นมา เห็น
ปฏิจจสมุทปบาท
ฉะนั้น หลวงพ่อไม่เห็นกรรมฐานใดอัศจรรย์เหมือนอานาปานสติ ลึกล้ำจนถึงขนาดยอมรับเต็มปากเต็มคำ เต็มหัวใจเลย มันเป็นกรรมฐานของพระมหาบุรุษ ไม่ใช่กรรมฐานของคนทั่วๆไปจะเล่นได้ชำนิชำนาญ
หลวงพ่อปราโมทย์