Recent Posts

ระบบอานาปานสติ


ระบบอานาปานสตินี้พระพุทธเจ้าจัดไว้ดี คือว่า :     
>  จะรู้ความจริงไป"ตั้งแต่ขั้นต้นๆ" เพิ่มมากขึ้น   
เช่น เมื่อลมหายใจยาว -หายใจสั้น -ดูลมหายใจปรุงแต่งกาย -ควบคุมการปรุงแต่งอยู่ ,         
*เป็นการช่วยให้...         
   "เห็นอย่างมี experience "   
ไม่ใช่เห็นอย่างศึกษาเล่าเรียน ว่ามันมีความเป็นอนิจจังอยู่ในนั้นอย่างไร

*ความไม่เที่ยงหรือความเป็นอนิจจัง ...
-มันมีอยู่ในลมหายใจ   
-มีอยู่ในหน้าที่ของลมหายใจ   
-ในการกระทำ     
-ในการเปลี่ยนแปลงลมหายใจ   
มันแสดงให้เห็นสิ่งที่จะต้องเห็น คือ อนิจจัง เป็นต้นไปตั้งแต่แรกนี้ มันได้เปรียบ       
และเราจะเห็นหนักยิ่งขึ้นในขั้นท้ายในขั้นที่ดูอนิจจัง คือขั้นที่๑๓ : การดูอนิจจังโดยเฉพาะ มากเป็นพิเศษ       
*มันก็ดูย้อนหลังไปตั้งแต่ขั้นที่หนึ่งคือ ความไม่เที่ยงของลมหายใจ   

มันจึงเป็นการประสานกันอยู่ ประกอบกันอยู่อย่างดีที่สุด ที่จะให้ได้มีความรู้ ความเห็น ความเข้าใจอย่างมหึมา ทันทีทีเดียว

> คือเราประพฤติปฏิบัติกระทำนี้ เพื่อให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาของสิ่งทั้งปวง
> แล้วก็มีวิธีปฏิบัติชนิดที่พอลงมือทำก็เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาจากสิ่งแรกที่ลงมือกระทำ   

>> ระบบอานาปานสติ...   
ให้ความสะดวกมากถึงอย่างนี้ :   
*ให้เริ่มเกี่ยวข้องกับการเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอย่างจริงจัง     
...อย่างด้วย"จิตใจในภายใน"   
...แล้วก็อย่างแน่นแฟ้น ไปตั้งแต่ต้น   

นี้ก็เป็นความลับ หรืออุบายอะไรอันหนึ่งในระบบของอานาปานสตินั้น     

>> อยากจะให้เห็นอีกแง่หนึ่งว่า... 
...ระบบนี้เป็น"ระบบที่ลัดสั้นที่สุด" ประหยัดเวลามากที่สุด 
...adjustได้ ตามความสามารถของบุคคล ที่จะลัดได้มากเท่าไร...แล้วแต่สติปัญญา ความสามารถ   
แม้ว่าจะไม่มีสติปัญญามาก อันนี้ก็ยังเป็นวิธีลัดอยู่นั่นเอง เพราะไม่ไปใช้สติปัญญาอย่างฟุ่มเฟือย     

โดยหลักใหญ่ ...       
ก็เอาจุดสุดยอดมาดู เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วก็เฉยเสียได้ มีเท่านี้           
*"เอาจุดสุดยอดของความสุข...มาดูอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก     
จนเห็นความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่น่ายึดมั่นถือมั่น"     
เรื่องมันมีเท่านี่   
 > นี่คือ ความลับของการลัดสั้นที่สุด   

แต่แล้ว ...     
เราก็ขยายระยะหนึ่งให้มันมีการปฏิบัติที่เป็นเทคนิคสมบูรณ์ขึ้นมา     
มันจึงขยายออกไปได้ถึง ๑๖ ขั้น เพื่อความมีเทคนิคสมบูรณ์   

ถ้าจะพูดให้เป็นเรื่องขั้นเดียว มันก็คือ: 

# "พิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่ทุกลมหายใจเข้าออก"     

แล้วขยายความออกไปว่า ...     
# ไปเอา "ผล" ที่มันดีที่สุด คือยอดของความสุข มา"เป็นวัตถุสำหรับดูอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา"     

แล้วมันก็ขยายต่อไปอีกว่า...     
"ทำอย่างไร? จึงจะเอายอดสุดของความสุขมาเป็นปัจจุบัน มาเป็น experience ปัจจุบันอยู่ในจิตใจ"       

ฉะนั้น...     

# ต้อง"ทำให้มันมีขึ้นมา"สิ....     
ก็ไปเอาวิธีทำให้ลมหายใจ:หรือกายสังขาร นี้...ให้รำงับๆ   
จนทำให้มียอดสุขขนิดนี้ขึ้นมาเป็นของจริงอยู่ข้างใน ไม่ใช่คิดฝัน ไม่ใช่คาดคะเนเอา     

# ต้องเอาสิ่งนั่นมา"ทำให้ปรากฏอยู่ในใจ"จริงๆ...     
คือกำลังมีสุขยอดสุข อยู่จริงๆในใจ 
แล้วก็ดูมันที่นั่นแหละ       
จนกระทั่งเห็นว่า อ้าว ! นี่ก็เป็นเรื่องคลอนแคลน ง่อนแง่นไปตามเหตุตามปัจจัย ตามสิ่งแวดล้อม,
เมื่อตะกี้ไม่มี เดี่ยวนี้ก็มีขึ้นมา เพราะว่าเหตุปัจจัยอย่างนี้ถูกสร้างขึ้น       
-อย่างนี่ก็เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา   
-เห็นในทำนองให้เกิดเบื่อหน่าย  คลายกำหนัด จริงจังขึ้นมาเลย     

เทคนิคมัยขยายออกไปได้อย่างนี้     
เราจึงได้ถึง ๑๖ ขั้น     

>> ทีนี้ ถ้าว่าเราไม่เหมาะที่จะใช้ทั้ง ๑๖ ขั้น       
เราก็รวบรัดเข้าเหลือเพียง ๒ - ๓ขั้น :   

# ลงมือสำรวมจิต ให้จิตสงบพอจะมีความสุขขึ้นมาบ้าง     
# แล้วดู อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่มีความสุขนั้น       
# จิตก็เฉยได้     
...นี่เป็น ๓ ขั้น       

>> หรือว่าถ้าเป็นคนมีปัญญา     
# เราลงมือ"ปฏิบัติในหมวดที่หนึ่งสัก ๔ขั้น"พอสมควรเท่านั้น   
ไม่ต้องมีญาณมีสมาบัติอะไรก็ได้     
# เราก็ถือเอาความสุขจากในขั้นสุดท้ายนี้ (ขั้นที่ ๔)ไปพิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เลย   
 มันสำเร็จในการพิจารณาความไม่เที่ยง 
นอกจากนั้นมันเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องไปสนใจก็ได้  ไม่มีทางผิด     

>> แต่ถ้า"ทำสมบูรณ์แบบ"     
ก็ไปเพ่ง "เฉพาะขั้น"ๆ...     
# (ขั้น)เห็นอนิจจัง     
# แล้วก็(ขั้น)เห็นความที่จิตคลายออก     
# (ขั้น)เห็นความที่ทุกข์ดับไป     
# (ขั้น)เห็นความที่เดี๋ยวนี้จิตปลดเปลื้องจากสิ่งทั้งปวงหมดแล้ว   
....นั่นมันเป็นเรื่องละเอียดออกไปใน"ทางจิตวิทยา"     

ถ้าใน"ทางศาสนา"...   
"ปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์" แล้วจะไม่ต้องดูก็ได้ ,   
มันมีอยู่เองแล้ว มันมีอยู่ในนั้น   

แต่ถ้าว่า เราต้องการจะแตกฉาน ต้องการจะเป็นผู้สั่งสอน ต้องการอะไรที่เป็นความสมบูรณ์...มันก็มี ๑๖ขั้น       

รวมความแล้วก็ว่า     
มันเป็นระบบปฏิบัติที่ยืดหยุ่นได้ แล้วก็ไม่เสียผล ไม่เสียหาย     
adjustได้ตามอุปนิสัยใจคอของคนที่จะปฏิบัติ         
แล้วก็ได้รับผลแน่นอน เป็นอันเดียวกัน ตรงที่ว่า "ดับทุกข์ได้" *   
ส่วนความพิเศษนั้นไม่พูดถึง เพราะมันต่างกัน       

นี้คือ         
ความลับของอานาปานสติ หรืออุบายวิธีที่มันเกี่ยวเนื่องกันอยู่       

สรุปความอีกครั้งหนึ่งเป็นเรื่องใหญ่ๆว่า ...

"เราต้องการจะมีชีวิตอยู่ด้วยความรู้ว่า 
ทุกสิ่งไม่ควรยึดมั่นถือมั่น"     

*"จะทำในใจ...ในความไม่น่ายึดมั่นถือมั่น ไว้ตลอดเวลา"   

แล้ทำไม่สำเร็จ เพราะว่าเราบังคับจิตไม่ได้       
เราก็หาอุบายวิธีที่จะบังคับจิตให้ได้เสียก่อน     
ในเมื่อได้แล้ว มันก็สามารถที่จะ"มีความรู้สึกว่า ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นนี้อยู่ในจิตตลอดเวลา"       
มันก็ไม่เผลอไปยึดมั่นถือมั่นอะไรเข้า   
มันมีสติปัญญาอยู่ตลอดเวลา   
เพราะฉะนั้นการเคลื่อนไหวในชีวิต ตลอดวันตลอดคืนมันก็เป็นไปถูกต้องหมด   

นี่คือใจความของอุบาย หรือ เคล็ดลับที่เป็นอุบาย     

> ไปพิจารณาข้อนี้ให้แตกฉาน   
ให้แจ่มแจ้งชัดเจน       
> แล้วเราก็จงลองปฏิบัติดูโดยตรงที่เกี่ยวกับอานาปานสติ     
แม้ไม่มีเวลามาก ก็ปฏิบัติเพียงเพื่อที่จะเข้าใจ     
จะติดตัวไปสำหรับเราไปฝึกที่ไหน เมื่อไรต่อไปในอนาคตก็ได้       

** มันเป็นความรู้ที่จำเป็นที่สุดสำหรับมนุษย์

(สรุปคัดย่อจาก"บรมธรรม ภาคปลาย",พุทธทาสภิกขุ: อบรมภิกษุนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พรรษาปี๒๕๑๒.;จัดพิมพ์โดย สนพ.สุขภาพใจ)